หน้าหลัก > บล็อก > การออกแบบและวางแผนระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่มีประสิทธิภาพ

การออกแบบและวางแผนระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่มีประสิทธิภาพ

โดย Charoen W

Security Camera หรือ CCTV อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ทุกบ้านต้องมี

ระบบรักษาความปลอดภัยที่ตอนนี้เป็นสิ่งที่ทุกบ้านหรือออฟฟิศต้องมีนั่นคือ กล้องวงจรปิด (CCTV) หรือ Security Camera เพราะประโยชน์ของกล้อง CCTV ในปัจจุบันนั้นมีมากเหลือเกิน เช่น การเอาไว้ส่องดูเหตุการณ์ความเป็นไปในบริเวณที่ต้องการ การดูภาพของคนที่เรารักภายในบ้าน หรือดูสัตว์เลี้ยงของเรา กล้องวงจรปิดบางตัวเป็น Digital CCTV สามารถเก็บได้ทั้งภาพและเสียง และบางตัวสามารถสื่อสารกับคนในบริเวณนั้นได้ด้วย เป็นต้น

แต่ถ้าเราจะดำเนินการติดตั้งกล้อง CCTV เราควรจะต้องมีการออกแบบและวางแผนระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อให้การทำงานของกล้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด

วันนี้เราจึงจะมาขอนำเสนอ การออกแบบและวางแผนระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ท่านได้ลองใช้เป็นฐานในการพิจารณา ออกแบบแนวทางการติดตั้งกล้อง CCTV ตามที่ท่านต้องการ

 

การออกแบบและวางแผนระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่มีประสิทธิภาพ

การออกแบบและวางแผนระบบกล้อง CCTV ให้มีประสิทธิภาพและได้ผลตามที่เราต้องการ อาจจะมีกระบวนการที่ซับซ้อน เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ดังนี้

  1. พิจารณาในด้านพื้นที่ที่ต้องการเห็นภาพ
    ในการติดตั้งกล้อง CCTV ในแต่ละครั้ง แต่ละสถานที่ ก่อนอื่นผู้ติดตั้งนั้นต้องทราบวัตถุประสงค์ของการติดตั้งและต้องทราบความต้องการภาพที่ผู้ติดตั้งต้องการเสียก่อน เช่น ต้องการจะติดตั้งกล้อง CCTV ภายในบ้านเพื่อต้องการเห็นภาพคุณพ่อ คุณแม่หรือบุคคคลที่เรารักภายในบ้านว่าท่านทำอะไรบ้าง เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว เราจึงนำความต้องการนั้นมาวางแผนเลือกมุมและการติดตั้งกล้องเพื่อให้ได้เห็นภาพตามที่เราต้องการ ในกรณีตัวอย่างข้างต้น เราอาจจะเลือกติดตั้งกล้อง CCTV ที่ทำให้เห็นภาพกว้างบริเวณในห้องได้อย่างทั่วถึง อาจจะเป็นบริเวณมุมห้องด้านบน ด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น
     
  2. พิจารณาชนิดของกล้อง CCTV
    ปัจจุบันเรามีกล้อง CCTV ในท้องตลาดของไทยมี 2 รูปแบบด้วยกันได้แก่ แบบ analog กับแบบ IP (Network) กล้อง CCTV แบบ analog ส่งสัญญาณภาพผ่านสายสัญญาณ Coax cable ทำให้เวลาติดตั้งกล้องประเภทนี้ต้องมีการเดินสายสัญญาณไปยังห้องจุดควบคุม สำหรับกล้อง IP จะส่งสัญญาณภาพเป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อดีคือไม่จำเป็นต้องเดินสายสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันกล้องวงจรปิดแบบ IP Digital CCTV กำลังได้รับความนิยมกันอย่างมาก

    นอกจากนี้ในการพิจารณาเลือกประเภทของกล้องแบบ analog หรือ IP Digital CCTV แล้ว เราต้องมาพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติของกล้องด้วย ซึ่งในปัจจุบันกล้อง CCTV บางรุ่นเป็นได้มากกว่าเครื่องบันทึกภาพ เพราะนอกจากจะบันทึกได้ทั้งภาพและเสียงแล้ว ยังสามารถบันทึกภาพในที่มืด หรือสามารถแจ้งเตือน กำหนดอาณาบริเวณที่จะแจ้งเตือน หรือสามารถสื่อสารกับคนในภาพได้ เป็นต้น

    ดังนั้น ในการวางแผนออกแบบการติดตั้งกล้อง จึงต้องพิถีพิถันในการพิจารณาในประเด็นนี้กันอย่างรอบคอบ เพื่อที่จะได้ภาพตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
     
  3. พิจารณาการวางตำแหน่งของกล้อง
    การพิจารณาในประเด็นตำแหน่งของกล้องที่เราจะติดตั้งนี้ จะสัมพันธ์กับประเด็นในข้อที่ 1 และ 2 นั่นคือ เราจะต้องทราบภาพที่เราต้องการจะเห็นก่อนว่าเราต้องการเห็นภาพเช่นไร เน้นที่บริเวณใดเป็นพิเศษ จากนั้นก็มาพิจารณาคุณสมบัติของกล้องที่เราเลือกว่าสามารถรับภาพได้กว้างขนาดไหน หรือสามารถแพนกล้องไปยังบริเวณโดยรอบเพื่อจะให้ได้เห็นภาพบริเวณที่เราต้องการหรือไม่ เพราะกล้องแต่ละตัวมีคุณสมบัติในการจับภาพที่ต่างกัน

    นอกจากนี้ในการวางตำแหน่งของกล้อง CCTV อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องการรับสัญญาณ Wi-Fi internet หากต้องที่ใช้เป็นกล้องแบบ IP Digital CCTV ที่ต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ต ต้องเลือกสถานที่ติดตั้งที่ไม่อับสัญญาณ
     
  4. ติดตั้งกล้องให้ถูกต้อง
    ประเด็นการติดตั้งให้ถูกต้อง หลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่พลาดพลั้งและทำให้เกิดการใช้งานของกล้องได้ไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากกล้อง CCTV แต่ละตัวมีคุณสมบัติต่างกัน ฟังก์ชั่นและออปชั่นแตกต่างกัน ทำให้การติดตั้งกล้อง CCTV แต่ละตัวไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงควรทำการศึกษาคู่มือที่มาพร้อมกับกล้อง CCTV ที่เราเลือกนำมาใช้อย่างละเอียดก่อนทำการติดตั้งจริง เพื่อที่เราจะได้รับประสิทธิภาพจากกล้องที่เราเลือกใช้สูงสุด
     
  5. พิจารณาการจัดเก็บและการเข้าถึงคลิปวิดีโอ
    กล้อง CCTV ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมี hard-disk หรือ memory เพื่อจัดเก็บภาพและข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในตัวเอง สิ่งที่เราควรพิจารณานั่นคือปริมาณในการจัดเก็บข้อมูลภาพและเสียงนั้น ว่ากล้อง CCTV ที่เราซื้อมานั้นมีพื้นที่ในการจัดเก็บมากน้อยขนาดไหน และมีระบบการสำรองข้อมูลกี่วัน หรือเราสามารถเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้อีกหรือไม่ โดยการเพิ่ม memory card หรือ ส่งข้อมูลไว้ใน Cloud เป็นต้น รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลหรือวิดีโอต่าง ๆ ที่กล้องบันทึกได้ เราจะสามารถเข้าถึงผ่านช่องทางใดได้บ้าง อาจจะเป็นผ่านโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่มาพร้อมกับกล้อง CCTV ที่เราซื้อมาก็เป็นได้
     
  6. การใช้งานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ
    กล้อง CCTV ในปัจจุบันบางรุ่นสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับงานรักษาความปลอดภัยอย่างอื่น หรือทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่น ๆ ได้ ซึ่งเราจะเห็นมากในบ้านที่เป็นแบบ Smart Home เช่น กล้อง CCTV ทำงานร่วมกับสัญญาณเตือนภัยในตัวอาคาร หรือการทำงานเชื่อมต่อกับ Control Center ใน แอพพลิเคชั่นเพื่อการสั่งงานอื่น ๆ ได้
     
  7. พิจารณาด้านข้อกำหนดหรือกฎหมาย
    ในประเด็นทางด้านข้อกฎหมายนี้เป็นประเด็นสำคัญแต่หลายคนอาจจะมองข้าม เพราะถ้าเราติดตั้งกล้อง CCTV ที่ผิดพลาดไปอาจจะไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอื่นได้ หรือประเด็นของเรื่องการใช้ข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลภายในกล้องวงจร ก็อาจจะเป็นประเด็นในเรื่องการเผยแพร่แล้วไปกระทบต่อบุคคลอื่นได้


และทั้งหมดนี้เป็น 7 ข้อที่เราต้องพิจารณาในการออกแบบและวางแผนระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและได้ภาพที่เราต้องการ และหากใครที่กำลังมองหากล้อง CCTV กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ Security Camera ชุดกล้องวงจรปิด กล้องวงจรปิดไร้สาย กล้องวงจรปิดกันน้ำ กล้องวงจรปิดหมุนได้ หรือ Digital CCTV แล้วยังเลือกไม่ได้ ท่านสามารถลองเข้ามาดู มาแวะชมสินค้าของเราได้ เรามีกล้อง CCTV มากมายให้ท่านเลือกในรุ่นที่ขึ้นว่าเป็น Tapo มีทั้งแบบตั้งโต๊ะ แบบติดตั้งบนเพดานหรือฝาผนัง มีทั้งรุ่นที่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลบริเวณนั้นได้ รุ่นสามารถบันทึกได้ทั้งภาพทั้งเสียง รุ่นที่สามารถบันทึกภาพในที่มืดได้ รุ่นที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมอื่น ๆ ได้อีกด้วย

 

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพิ่มเติม
และติดตามข้อมูลข่าวสารจาก TP-LINK ได้ที่
www.tp-link.com
Line : @tplink หรือ คลิกที่นี่
Facebook: facebook.com/tplinkth
YouTube: www.youtube.com/@TPLINK-TH

Charoen W

บทความที่แนะนำ